ที่ว่าการอำเภอซับใหญ่

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ

1. ลักษณะที่ตั้ง

                         อำเภอซับใหญ่  จังหวัดชัยภูมิ  ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 53 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทาง ตามทางหลวงหมายเลข 225 สายชัยภูมิ-นครสวรรค์ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข  2354  สายหนองบัวระเหว -เทพสถิต

2. เนื้อที่

      อำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 255  ตารางกิโลเมตร หรือ

ประมาณ  159,375  ไร่  แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้  คือ

                              พื้นที่ราบ                95,775 ไร่

                              ภูเขา                         3,700 ไร่

                              พื้นน้ำ                       4,900 ไร่

                              อื่น ๆ                      55,000 ไร่

3. อาณาเขตติดต่อ

      ทิศเหนือ         ติดต่อกับ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต

      ทิศใต้              ติดต่อกับ อำเภอจัตุรัส อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเทพสถิต

      ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอจัตุรัส อำเภอบำเหน็จณรงค์

      ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ อำเภอเทพสถิต

4. ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง มีที่ดอนสลับที่ลุ่ม(เป็นคลื่น) ลักษณะดินร่วนปนทราย

สลับกับพื้นแผ่นหินไม่สามารถเก็บกักน้ำได้

                              ภูเขาที่สำคัญ  มี  เขานางรัก  เขาจอมดอย  เขาน้อย

                              มีแม่น้ำไหลผ่านในพื้นที่ ได้แก่ ลำห้วยจอมแก้ว , ลำห้วยทราย และลำห้วยกระจวน

5. ภูมิอากาศ

ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มี 3 ฤดู

ฤดูร้อน       เริ่มตั้งแต่           เดือนมีนาคม        ถึง     เดือนมิถุนายน

ฤดูฝน         เริ่มตั้งแต่           เดือนกรกฎาคม    ถึง     เดือนตุลาคม

ฤดูหนาว     เริ่มตั้งแต่           เดือนพฤศจิกายน  ถึง   เดือนกุมภาพันธ์  

 

6. พื้นที่และการใช้ประโยชน์

พื้นที่ทำการเกษตร                                                จำนวน  85,673   ไร่

พื้นที่อยู่อาศัย                                                         จำนวน  34,015   ไร่

พื้นที่รกร้างว่างเปล่า ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เขตป่า         จำนวน  57,329   ไร่

  ในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็น สปก.4-01 สำหรับโฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) และหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง(น.ส.ล.) มีเพียงส่วนน้อย

 7.  การปกครอง

แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457  เป็น  3 ตำบล

37  หมู่บ้าน  ดังนี้

 

หมู่ที่

ตำบล

ซับใหญ่

ท่ากูบ

ตะโกทอง

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

ซับใหญ่

วังพง

โนนสะอาด

วังขื่อ

ซับเจริญสุข

บุฉนวน

หนองใหญ่

ตลุกคูณ

ซับห่าง

ซับใหญ่พัฒนา

หนองบัว

โนนจำปาพัฒนา

เขาดินวนา

บ้านซับจาน

ท่ากูบ

โป่งเกตุ

วังขอนสัก

วังกุง

ซับสายออ

ท่าชวน

ห้วยส้มป่อย

วังรัง

ซับสมบูรณ์

โนนสมบูรณ์

ซับน้ำใส

วังอุดม

เขื่อนสั่น

โสกหอยขม

หนองนกเขียน

ห้วยเจริญผล

ตะโกทอง

ซับใหม่

หนองยางพัฒนา

ตะโกทอง

กลุ่มสูง

ทุ่งกระถินพัฒนา

หนองประดู่พัฒนา

 มีส่วนราชการสังกัดส่วนภูมิภาค   จำนวน 9  หน่วยงาน  ประกอบด้วย

- ที่ทำการปกครองอำเภอ

-  สถานีตำรวจภูธรอำเภอ

  • - สำนักงานสาธารณสุข
  • - พัฒนาการอำเภอ
  • - ป่าไม้อำเภอ
  • - เกษตรอำเภอ
  • - สัสดีอำเภอ
  • - ปศุสัตว์อำเภอ

- ท้องถิ่นอำเภอ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มีจำนวน  3  แห่ง  ประกอบด้วย

องค์การบริหารส่วนตำบล

พื้นที่(km)

ชาย

หญิง

รวม

  • ซับใหญ่
  • ท่ากูบ
  • ตะโกทอง

102

91.8

61.2

3,193

2,117

1,614

2,859

2,032

1,574

6,052

4,149

3,188

รวม

255

6,924

6,465

13,389

 รัฐวิสาหกิจ  จำนวน  -  แห่ง

ธนาคาร  จำนวน  -  แห่ง

ธนาคาร  ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ  จำนวน  -  แห่ง

8. ประชากร  (ณ  วันที่  5  ตุลาคม  2550)

มีประชากรทั้งสิ้น  13,678 คน แยกเป็นชาย  7,028  คน หญิง  6,645 คน มีความ

หนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ  53   คน ต่อตารางกิโลเมตร

ลำดับที่

ตำบล

ชาย(คน)

หญิง(คน)

รวม(คน)

หมายเหตุ

1

2

3

ซับใหญ่

ท่ากูบ

ตะโกทอง

3,245

2,143

1,640

2,943

2,087

1,620

6,188

4,230

3,260

 

             9.  ความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรม

                   ประชาชนในพื้นที่อำเภอซับใหญ่  มีความเชื่อ และพิธีกรรมตามครรลองของวิถีทางชาวพุทธ  เพราะทั้ง  100  เปอร์เซ็นต์  ของประชากรนับถือศาสนาพุทธมีขนบธรรมเนียม  ประเพณีเหมือนชาวอีสานในจังหวัดอื่นๆ ทั่วไป  เช่น  ประเพณีบุญกฐิน  บุญผ้าป่า  บุญพระเวสสันดร  บุญบั้งไฟ และบุญข้าวประดับดิน  เป็นต้น

           10.  วิถีชีวิต  สภาพสังคม และวัฒนธรรม

                   ประชาชนในพื้นที่อพยพย้ายถิ่นมาจากต่างถิ่น    ได้แก่   จังหวัดนครราชสีมา   เขตอำเภอบัวใหญ่   อำเภอด่านขุนทด และจากจังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในตำบลซับใหญ่ และตำบลตะโกทอง  ส่วนตำบลท่ากูบจะเป็นประชากรที่แยกมาจากอำเภอจัตุรัส  จังหวัดชัยภูมิ  เนื่องจากสภาพพื้นที่ของกิ่งอำเภอเป็นพื้นที่ราบสูง  มีภูมิอากาศแห้งแล้ง และประกอบอาชีพส่วนใหญ่ด้านการเกษตรกรรม  ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเป็นไปอย่างเรียบง่าย  แบบสังคมชนบท  ไม่มีสภาพความเป็นสังคมเมือง  ไม่มีสถานบันเทิง  เริงรมย์ในพื้นที่  ตลอดจนไม่มีธนาคาร และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นๆ  ตั้งอยู่

  11สภาพทางเศรษฐกิจ

อาชีพหลัก  ได้แก่  1.  ทำไร่                               ประมาณ  ร้อยละ  70

                            2.  เลี้ยงสัตว์                         ประมาณ  ร้อยละ  20

                            3.  ทำนา                              ประมาณ  ร้อยละ  5

            พืชเศรษฐกิจ  คือ  มันสำปะหลัง , พริก , อ้อย

            สัตว์เศรษฐกิจ  คือ  โค

            ประกอบอุตสาหกรรมเป็นประเภท  สถานรับซื้อพืชผลทางการเกษตร(ลานมัน) 

11.1  การเกษตรกรรม

      กิ่งอำเภอซับใหญ่ มีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น  85,673  ไร่ แยกได้ดังนี้

ที่

พืชเศรษฐกิจ

พื้นที่ปลูก(ไร่)

1

2

3

4

5

มันสำปะหลัง

อ้อย

พริก

ข้าวโพด

ข้าว

48,979

9,673

6,305

  4,849

3,892

 11.2  การอุตสาหกรรมการเกษตร

มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการ  ได้แก่ ลานมัน

และสถานที่รับซื้อพืชผลทางการเกษตร จำนวน   6  แห่ง

ตำบล

จำนวนโรงงาน,ลานมัน (แห่ง)

ซับใหญ่

ตะโกทอง

4

2

11.3  การพาณิชย์

-  มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่  6  แห่ง

-  ไม่มีธนาคาร

11.4  การบริการ

-  ไม่มีโรงแรม

-  ไม่มีสถานบริการ และสถานเริงรมย์                                                     

   12.  การท่องเที่ยว

                     มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่

            ฝายกั้นน้ำลำกระจวน

                   -  ตั้งอยู่บนเขตรอยต่อระหว่างอำเภอซับใหญ่  กับ อำเภอเทพสถิต  บริเวณบ้านซับสายออ  หมู่ที่  5  ต.ท่ากูบ  ก่อสร้างโดยพระภิกษุสงฆ์ (พระอาจารย์จื่อ)  จากการรวบรวมงบประมาณปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และงบประมาณของผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ  โดยบริเวณต้นลำน้ำเหนือฝายมีทัศนียภาพสวยงามเหมาะแก่การล่องเรือเที่ยวชมธรรมชาติ

          สวนไม้ประดับลีลาวดี

                   -  ตั้งอยู่ที่บ้านท่ากูบ  หมู่ที่  1  ต.ท่ากูบ และบ้านโนนสมบูรณ์  หมู่ที่  10  ต.ท่ากูบ  ซึ่งชาวบ้านได้เพาะปลูกพันธุ์ไม้ลีลาวดีหลากหลายพันธุ์ไว้เพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก  ราคาถูก และเป็นที่ต้องการของตลาด  โดยสามารถเดินเที่ยวชม และเลือกซื้อเป็นของฝากได้  มีหลายขนาดให้เลือก

          สวนไม้ดอกดาวเรือง

                   -  ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งกระถินพัฒนา  หมู่ที่  10  ต.ตะโกทอง  ซึ่งชาวบ้านได้รวมกลุ่มสมาชิกเพาะปลูกดาวเรืองเป็นอาชีพเสริมสามารถนำออกไปจำหน่าย และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างงดงาม  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดชัยภูมิเพื่อจัดหาแหล่งน้ำและวัสดุ อุปกรณ์ ในการเพาะปลูก

13. สภาพทางสังคม

13.1  การศึกษา

      ข้อมูลด้านการศึกษา

สถานศึกษาสังกัด

จำนวน(โรงเรียน)

จำนวนห้องเรียน

จำนวนครู

จำนวนนักเรียน

การประถมศึกษา

มัธยมศึกษา

การศึกษานอกโรงเรียน

เอกชน

รวม

13

1

-

-

14

142

10

-

-

152

100

19

3

-

122

1,927

289

335

-

2,551

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  มี  4  แห่ง  คือ

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซับใหญ่ มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน 18 คน
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองใหญ่ มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน - คน
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุฉนวน มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน 23 คน
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังกุง มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน 16 คน

                              ระบบการศึกษานอกโรงเรียน

                               กลุ่มสนใจ                                                              -           กลุ่ม

                               วิชาชีพระยะสั้น                                                       -           กลุ่ม

                               ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน                                   3          แห่ง

                               ห้องสมุดประชาชน                                                  1          แห่ง

                               การศึกษาอื่น

                               โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกรวม                             -           แห่ง

                               ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด                                 -           แห่ง

                               หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล                           -           แห่ง

                               ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล            9          แห่ง

                        13.2  การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

                               ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 100

                               มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา

                               มีวัด , ที่พักสงฆ์                  จำนวน             41        แห่ง

                               มัสยิด                                จำนวน             -           แห่ง

                               ศาลเจ้า                             จำนวน             -           แห่ง

                               ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ  ได้แก่ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีงานบุญพระเวส

13.3  การสาธารณสุข                                                                                                                

  • มีการให้บริการด้านการสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้

-  โรงพยาบาล  ขนาด  30/65/90/120  เตียง    จำนวน  -  แห่ง

-  สถานีอนามัย                                                        จำนวน  3  แห่ง

-  สำนักงานสาธารณสุข                                 จำนวน  1  แห่ง

-  ศูนย์สุขภาพชุมชน                                     จำนวน  1  แห่ง

-  ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                               จำนวน  -  แห่ง

-  สถานพยาบาล                                             จำนวน  -  แห่ง     

•                        8
•                        บุคลากรสาธารณสุข

-  แพทย์                                                            จำนวน  1  คน

-  ทันตแพทย์                                                   จำนวน  -  คน

-  เภสัชกร                                                       จำนวน  -  คน

-  พยาบาลวิชาชีพ                                           จำนวน  4  คน

-  เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข                           จำนวน  1  คน

-  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข                                                จำนวน  16 คน

-  เจ้าหน้าที่อื่น ๆ                                               จำนวน  -  คน

-  อสม.                                                           จำนวน  441 คน

  • อัตราการมีและใชัส้วมราดน้ำ คิดเป็นร้อยละ 100
  • หอกระจายข่าว 27 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80

13.4  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                            มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ  จำนวน 1 แห่ง  คือ สถานีตำรวจภูธรอำเภอซับใหญ่

กำลังตำรวจที่ประจำอยู่ ณ สถานีตำรวจภูธรอำเภอ  จำนวน  42 นาย 

-  อส.                                                   จำนวน  5  คน

-  ตำรวจบ้าน                               จำนวน  230  คน

-  อปพร.                                     จำนวน  212  คน

-  ผู้ประสานพลังแผ่นดิน                  จำนวน  1,670  คน

-  อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย      จำนวน  3,330  คน  คิดเป็นร้อยละ 25.92

14. ระบบบริการพื้นฐาน

14.1 การคมนาคม

                             การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอ และจังหวัดรวมทั้งการคมนาคมภายในตำบล

และหมู่บ้าน มีรายละเอียด  ดังนี้

1.  ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2354 (หนองบัวระเหว-เทพสถิต)

2.  ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2069 (บำเหน็จณรงค์-ซับใหญ่)

3.  ทางหลวงชนบท สายพระพุทธบาทเข้ายายหอม

                   สำหรับเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตำบล และหมู่บ้าน เป็นสภาพถนนลูกรัง จำนวน 36 สาย 

14.2  การโทรคมนาคมติดต่อสื่อสาร

                             (1)  มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชน  2  แห่ง

                             (2)  มีชุมสายโทรศัพท์สาธารณะตามหมู่บ้าน  32  แห่ง ใช้บริการได้  26  แห่ง   

14.3  การสาธารณูปโภค

     ไฟฟ้า -   มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน  จำนวน  4,064  ครัวเรือน  แบ่งเป็นระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์  63  ครัวเรือน

             -  ไม่มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัด

                             ประปา - มีน้ำประปาใช้   4,064  ครัวเรือน 

  • - ไม่มีการประปาส่วนภูมิภาค
  • - การประปาหมู่บ้าน จำนวน 33 แห่ง

               15. ทรัพยากรธรรมชาติ

                        15.1  ทรัพยากรดิน

                              สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายสลับกับพื้นแผ่นหิน  สามารถเพาะปลูกพืชไร่ได้

                        15.2  ทรัพยากรน้ำ

                              แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลำห้วยทราย ลำกระจวน ลำห้วยจอมแก้ว อ่างเก็บน้ำวังกุง อ่างเก็บน้ำท่ากูบ

                        15.3  ทรัพยากรป่าไม้                      

                      อำเภอซับใหญ่ มีพื้นที่ป่าอยู่มาก แต่ในปัจจุบันกำลังถูกบุกรุกแผ้วถางปรับเป็นพื้นที่การเกษตร    ป่าที่สำคัญได้แก่   ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายางกลัก

Google

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 20,129 Today: 3 PageView/Month: 35

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...